อ้วนเสพติดกันได้ด้วยเหรอ?
นิยามของ “การเสพติด” คือ การมีพฤติกรรมติดสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งให้ความรื่นรมย์ และ/หรือ ช่วยให้หลุดพ้นจากความไม่สบายใจ โดยไม่สามารถจะยับยั้งหรือหยุดเสพได้ แม้จะรู้ว่าสิ่งที่เสพนั้นให้ผลลบกับตนเอง คุณเสพติดอะไรบ้าง?
คุณผู้อ่านหลายคนอาจตอบปฏิเสธ เหล้าไม่เคยแตะ บุหรี่ไม่เคยสูบ โต๊ะบอลไม่เคยข้องเกี่ยว แล้วฉันจะเสพติดอะไร ถ้าอย่างนั้นขอถามใหม่ว่า
- คุณรับประทานชีสเค้ก ไอศกรีม แครมบรูเล่ เอแคลร์ ขนมหม้อแกง กาแฟปั่นใส่วิปครีม (ข้อใดก็ได้) แล้วรู้สึกสุขเล็กๆ (หรือมากๆ) และมีแนวโน้มที่จะอยากรับประทานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไหม
- คุณนึกถึงของหวานโปรดในข้อข้างบนเสมอ โดยเฉพาะในยามเครียด ซึมเศร้า และอดไม่ได้ที่จะรัปประทานใช่ไหม
- คุณทราบดีว่าของหวานเหล่านี้มีแคลอรี่สูง ทำให้คุณอ้วน และมีผลเสียต่อสุขภาพ แต่ก็ไม่สามารถจะเลิกรับประทานได้ใช่ไหม?
- บางครั้งคุณก็รู้สึกผิด หลังจากเผลอรับประทานขนมโปรดไปมากเกิน กว่าที่ตั้งใจไว้ใช่ไหม
หากคำตอบคือ ใช่ ใช่ ใช่ และ ใช่ คุณเองก็เป็นคนหนึ่งที่ติดอาหารน้ำตาลสูง และ/หรืออาหารไขมันสูงเช่นกัน
จากข้อมูลที่เราได้อ่านกันมาเรื่อง สมองส่วนที่ควบคุมความหิว-อิ่ม ฮอร์โมนหิว ฮอร์โมนอิ่ม ซึ่งแท้จริงแล้วธรรมชาติได้ออกแบบมาเพื่อให้มีจุดสมดุลของการควบคุมน้ำหนัก เมื่อเราน้ำหนักมากขึ้น ความอยากอาหารควรจะลดลงเพื่อรักษาภาวะสมดุลในร่างกาย แต่ความสมดุลทางน้ำหนักที่สูญไปในปัจจุบันนั้น เกิดจาก การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงเป็นปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลไกการยับยั้งในสมองเสียไป แม้จะทราบว่าไม่ดีกับสุขภาพก็หยุดบริโภคไม่ได้ และนั่นคือกลไกอธิบายภาวะเสพติดอาหารหวานและมันของคนในปัจจุบัน อ่านต่อตอนที่ 2
ที่มา : “ผอมได้ไม่ต้องอด” แพทย์หญิงธดากานต์ รุจิพัฒนกุล
มิ้น
Jun 08. 2013
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ นะคะ สงสัยคนเรามันมีสิ่งยั่วยุเยอะ เลยต้องเสพติดกันโดยไม่รู้ตัว
auai
Aug 23. 2013
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ค่ะ แล้วจะมาเยี่ยมชมอีกนะคะ เพราะเสพติดสินะคะ ถึงทำให้อ้วน
kang
Aug 23. 2013
คนเราเสพติดได้หลายๆ อย่างจริงๆ ^^